หน้าปก

หน้าปก

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้

 1. ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์








ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่า  ค อ่านเพิ่มเติม http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/


2.ประเภทของซอฟแวร์

1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )

ซอฟต์แวร์ ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือการดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่นรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปรความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลเป็นหน้าจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์จัดการาข้อมูลใน ระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกันคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานเฉพาะด้านเช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
3.ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ(operating System) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น

        3.1ระบบปฏิบัติการ
                      ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
         หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
   ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่สำคัญควรรู้มีดังนี้

          1) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows)เป็นการพัฒนาจาก บริษัทไมโครซอฟต์ เพื่อใช้กับเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ในการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่อง และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จากระบบ Windows XP โดยต้องเตรียมคุณสมบัติ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมฮาร์ดดิสก์ (การแบ่งพาร์ติชัน) การฟอร์แมต แล้วจึงติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows Vista ได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่ทางไมโครซอฟท์ ได้ออกแบบมา ต้องสัมพันธ์กันกับ อุปกรณ์ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่เช่นนั้น การทำงานของระบบอาจ ไม่มีประสิทธิภาพพอ
2) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macint  Operating System) ที่แนะนำในปี 2527 โดย Apple Computerเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่เป็น graphical user interface (GUI) รุ่นแรกที่ขายอย่างกว้างขวาง Mac ได้รับการออกแบบที่ให้ผู้ใช้ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบธรรมชาติ เข้าใจได้ตามสัญชาติญาณและโดยทั่วไป “เป็นมิตรกับผู้ใช้” ความคิดการอินเตอร์เฟซกับผู้ใช้จำนวนมากใน Macintosh มาจากการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ Xerox Park ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 รวมถึงเมาส์ ใช้ไอคอนหรือภาพมองเห็นได้ขนาดเล็กเพื่อนำเสนออ๊อบเจคหรือการกระทำ การกระทำชี้-และ-คลิก และ คลิก-และ-ลาก และความคิดระบบปฏิบัติการจำนวนหนึ่ง Microsoft ประสบความสำเร็จในแนวคิดการปรับปรุงการอินเตอร์เฟซแรกทำให้นิยมโดย Mac ในระบบปฏิบัติการแรก
Macintosh มีระบบปฏิบัติการของตัวเอง Mac OS ซึ่งในเวอร์ชันล่าสุดได้รับการเรียกว่า Mac OS X เวอร์ชันนี้ของ Mac มีจุดเริ่มต้นสร้างบนโพรเซสเซอร์ อนุกรม 68000 ของ Motorola ได้รับพลังโดยไมโครโพรเซสเซอร์ PowerPC ซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมโดย Apple, Motorola และ IBM โดยทั่วไป Mac อยู่ในสายการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอนฟิกสำหรับผู้ใช้และธุรกิจกับความต้องการแตกต่างกัน iMac ให้เทคโนโลยี Mac และอินเตอร์เฟซในแพ็คเกจราคาต่ำขณะที่ผู้ใช้ Mac นำเสนอเพียง 5 % ของจำนวนทั้งหมดของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Mac นิยมอย่างสูงและเกือบเป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นท่ามกลางผู้ออกแบบกราฟฟิกและศิลปินเสมือนออนไลน์และบริษัทที่พวกเขาทำงาน โดยทั่วไป ผู้ใช้ Mac มีแนวโน้มกระตือรือร้น
 3) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาโดย ลินุส ทอวาลดส์ (Linux Torvalds) ชาวฟินแลนด์ ลินุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับยูนิกซ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า ในช่วงแรกเป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่นๆ ของลินุกซ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่ายมากขึ้น
4) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซร์ฟเวอร์  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ Network Operating System คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายและการใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์, ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น สำหรับ Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครือข่าย (NOS)  ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft)โดยออกแบบและพัฒนาความสามารถต่าง ๆมาจากระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server และยังเพิ่มความสามารถใหม่ ๆเข้าไปอีกหลายอย่าง ด้วยกัน5)ระบบปฏิบัติการปาล์ม  หรือ Palm คืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ทำหน้าที่หลักในการเป็น organizer ก็คือการจัดระบบระเบียบส่วนตัว แต่ด้วยความ สามารถที่มากกว่านั้นปาล์มก็มีคุณสมบัติในการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก(ขนาดปาล์มจึงได้ชื่อว่า Palm-size Computers) หรือ ขนาดพกพาไปไหนมาไหนได้ (จึงได้ชื่อว่า Hanheld Computers

6)ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)        ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่

      3.2 โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์

             โปรแกรมแปลภาษา เป็นซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่แปล Source Program ให้เป็น Object Program เนื่องจากภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับรู้ได้จำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้เป็นตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน
3.3 โปรแกรมอรรถประโยชน์              เรียกสั้นๆ ว่า ยูทิลิตี้เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย ยูทิลิตี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ IOS (OS utility program) และ ยูทิลิตี้อื่นๆ (stand-alone utility program)
 3.1 โปรแกรมจัดการไฟล์ (File manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ต่าง ๆ เช่น การคัดลอกไฟล์ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ การลบไฟล์ การเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก  เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเหมือนจริง ทำให้การใช้งานโปรแกรมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

    3.2  โปรแกรมยกเลิกการติดตั้ง (Uninstaller) เป็นโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมที่ติดตั้งไว้  หรือเป็นโปรแกรมลบโปรแกรมที่ติดตั้งไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์เหล่านั้นอยู่แล้ว

    3.3 โปรแกรมสแกนดิสก์ (Disk Scanner) เป็นโปรแกรมสำหรับตรวจสอบหาความเสียหายที่เกิดกับฮาร์ดิสก์  คือ เมื่อใช้ฮาร์ดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหายเรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์ช้าลง หรือทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้นผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์เพื่อค้นหาความเสียหายไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมได้

    3.4โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ (Disk Defragmenter)  ทำหน้าที่จัดเรียงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบเพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้งาน  กล่าวคือ เมื่อมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์นั้นอยู่บ่อย ๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เมื่อจะเรียกใช้ภายหลังจะทำให้เสียเวลาในการดึงข้อมูลนั้น ๆ ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม disk deflagment ช่วยได้

    3.5 โปรแกรมรักษาหน้าจอ ( Screen saver) เป็นโปรแกรมสำหรับรักษาและช่วยยืดอายุการใช้งานจอภาพของคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ การเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและปล่อยทิ้งไว้ให้แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอ และไม่สามารถลบหายไปได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้อายุการใช้งานหน้าจอสั้นลง โปรแกรมดังกล่าวนั้นเราสามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจสอบและเริ่มทำงานได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของจอภาพ และเมื่อเราเริ่มทำงานใหม่โปรแกรมนี้ก็จะปิดตัวเองอัตโนมัติ

4. ตัวอย่างโปรแกรมโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านอื่น ๆ 
    4.1  โปรแกรมป้องกันไวรัส (anti virus program)  โปรแกรมไวรัสเป็นโปรแกรมที่ผู้ไม่ประสงค์ดีพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ ทำลายข้อมูล  รบกวนการทำงาน เช่น ทำให้ระบบบูตเครื่องช้าลง  เข้าโปรแกรมได้ไม่สมบูรณ์  คอมพิวเตอร์ค้าง มีข้อความรบกวนขึ้นมาบนจอภาพ เป็นต้น    โปรแกรมประเภทนี้อาจแบ่งเป็น 
              4.1.1 Anti virus  เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่ว ๆ ไป โปรแกรมนี้จะค้นหาและทำลายไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์  ตัวอย่างโปรแกรม เช่น  McAfee VirusScan  , Kaspersky ,  AVG Antivirus  เป็นต้
              4.1.2 Anti spyware  เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากไวรัสสปายแวร์และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงกำจัดแอดแวร์ ซึ่งเป็นป๊อบอัพการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต เช่น McAfee , AntiSpyware เป็นต้น

    4.2 โปรแกรมไฟร์วอลล์ (firewall) เป็นโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบ ถ้าพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเป็นข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาในระบบ โปรแกรมจะไม่อนุญาตให้ข้อมูลดังกล่าวเข้ามาในระบบ เช่น  โปรแกรม Windows Firewall , ZoneAlarm  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น